พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
สมเด็จพระพุทธบา...
สมเด็จพระพุทธบาทปิลันท์ พิมพ์เปลวเพลิงเล็ก ยกพระหัตถ์ขวา ติดรางวัลที่2
พระพุทธบาทปิลันทน์ วัดระฆังโฆสิตาราม
"พระสมเด็จปิลันทน์นอกจากจะได้รับความนิยมสูงสุดแล้ว ยังได้รับความนิยมและยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ของชุดเบญจภาคีพระเนื้อผงอีกด้วย"
2“พระพุทธบาทปิลันทน์” ขนานนามตามชื่อผู้สร้างคือ หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ (ทัด) ลูกศิษย์ใกล้ชิดในท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ผู้สร้างพระสมเด็จอันเป็นสุดยอดพระเครื่องแห่งเมืองไทย และนับได้ว่าเป็นพระภิกษุเพียงรูปเดียวที่ได้รับความไว้วางใจให้ปกครองดูแลวัดแทน และสืบต่อมาท่านได้จำเริญในสมณศักดิ์ จนครั้งสุดท้ายดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ "หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด)" เทียบเท่ากับพระอาจารย์
ครั้งเมื่อหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ (ทัด) ครองวัดระฆังฯ ในราวปี พ.ศ.2407 ท่านได้ดำริสร้างพระพิมพ์ให้ครบ 84,000 องค์ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ตามคติโบราณนิยม ส่วนหนึ่งเพื่อแจกผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสไว้เป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันภยันตราย อีกส่วนหนึ่งเพื่อบรรจุไว้ในพระสถูปเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชาและสืบสานพระบวรพุทธศาสนา ด้วยการสร้างพระพิมพ์เนื้อผงใบลานเผาขึ้นเป็นจำนวนมาก แบบและพิมพ์มีความประณีตงดงามด้วยฝีมือช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ ทั้งยังได้รับความอนุเคราะห์จากพระอาจารย์ คือท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มอบมวลสารพระสมเด็จวัดระฆังฯ รวมทั้ง "ผงปถมัง" ให้เป็นส่วนผสมในพระพิมพ์ ซึ่งคือส่วนที่ปรากฏเป็นผงสีขาวในองค์พระ นอกจากนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังร่วมในการอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วยพระคาถาชินบัญชร อันทรงคุณวิเศษอีกด้วย จึงเรียกขาน “พระพุทธบาทปิลันทน์” กันในอีกนามหนึ่งว่า “พระเครื่องสองสมเด็จ” สำหรับด้านพุทธคุณคงไม่ต้องพูดกันเลย แต่ที่ประจักษ์แก่สายตาส่วนใหญ่จะเป็นด้านเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี
การขุดพบพระพุทธบาทปิลันทน์ ที่วัดระฆังฯ นั้น พระเทพญาณเวที (ลมูล สุตาคโม ป.ธ.6) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือ “พระสมเด็จ ๓ องค์” ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2515 ขอสำเนามาเสนอดังนี้..
“…หม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด) กับพระปิลันทน์ (พระผง) วัดระฆัง
พระปิลันทน์นั้น เป็นพระของเจ้าพระคุณหม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) ผู้เป็นต้นคิดสร้างขึ้น เป็นพระผงใบลานเนื้อหยาบ ดำสนิทด้านๆ ไม่ดำเป็นมัน มีขี้กรุติดมากบ้างน้อยบ้าง เป็นพระไม่งาม สัณฐานเล็ก ความยาวประมาณ ๑ องคุลี ความกว้างประมาณครึ่งองคุลี ได้เคยเอาเศษหักมาตำผสมกับผงใหม่ มีกลิ่นฉุนๆ เหมือนพริกไท ส่วนประกอบที่องค์พระอันเป็นที่สังเกต เป็นพระนั่งมีปรกก็มี ไม่มีก็มี เป็นพระยืนมีซุ้มเรือนแก้วก็มี เป็นแบบพระประจำวันก็มี ดังนี้…”
พระพุทธบาทปิลันทน์ แตกกรุออกมาเนื่อจากมีผู้เข้าไปเจาะกรุพระเจดีย์เพื่อหวังทรัพย์สินของมีค่าเท่านั้น ไม่ประสงค์ในพระเครื่อง ท่านเจ้าคุณพระธรรมทานาจารย์ (แนบ สิงหเสนี) ซึ่งอยู่ที่หอไตรฯ ในสระ ท่านเป็นเจ้าคณะและควบคุมดูแลในพระอุโบสถในขณะนั้น เมื่อทราบเรื่องจึงให้นำพระเครื่องทั้งหมดมาเก็บไว้ในหอไตรฯ จนเมื่อเกิดสงครามอินโดจีนท่านจึงนำพระเครื่องส่วนหนึ่งมอบให้แก่กระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายแก่ทหารที่จะออกไปปฏิบัติราชการในสนามรบอีกด้วย
ดังที่กล่าวแล้วว่า พระพุทธบาทปิลันทน์ มีมากมายหลายพิมพ์ทรง อาทิ พิมพ์ปกโพธิ์ใหญ่, พิมพ์ปกโพธิ์เล็ก, พิมพ์โมค คัลลาน์-สารีบุตร, พิมพ์ครอบแก้วใหญ่, พิมพ์ซุ้มประตู, พิมพ์เปลวเพลิง, พิมพ์หยดแป้ง และพิมพ์ปิดตา ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมสะสมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งสิ้น โดยเฉพาะ “พระพุทธบาทปิลันทน์ พิมพ์ซุ้มประตู” ได้รับความนิยมและยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ของชุดเบญจภาคีพระเนื้อผงอีกด้วย
พระพุทธบาทปิลันทน์ พิมพ์เปลวเพลิง
สร้างตามพระพุทธอิริยาบถปางหนึ่งขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ“ปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์” พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืน เปล่งรัศมีเป็นเปลวเพลิง ซึ่งตามพุทธประวัติกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า …ครั้นเมื่อพระบรมศาสดาเสด็จถึงนครกบิลพัสดุ์ตามพระประสงค์แห่งพระพุทธบิดาแล้วนั้น พระพุทธองค์เสด็จประทับเหนือพระพุทธอาสน์ และเหล่าสาวกขึ้นนั่งบนเสนาสนะ ณ โครธารามวิหาร ซึ่งบรรดาศากยวงศานุวงศ์ทั้งหลายได้จัดถวายรับรอง ด้วยความที่กษัตริย์ศากยวงศ์ราชทั้งหลายเป็นผู้ใหญ่และมีมานะทิฐิ ไม่แสดงความเคารพต่อพระบรมศาสดาเพราะเห็นว่ามีอายุน้อยกว่า พระองค์มีพรประสงค์ที่จะลดมานะทิฐิเหล่านั้น จึงแสดงพุทธานุภาพจนทำให้หายจากทิฐิมานะและพากันนอบน้อมถวายนมัสการต่อพระพุทธองค์
สำหรับพิมพ์นี้ ใช้คำว่า “พระสมเด็จ” นำหน้า เป็นการถวายพระนามเพื่อเป็นเกียรติแด่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
นอกเหนือจากพุทธคุณสูงส่งแล้ว แค่เพียงตัวอย่างพุทธลักษณะของแต่ละพิมพ์ที่นำเสนอมานี้ ก็ล้วนมีความงดงาม เข้มขลัง และเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติทั้งสิ้น
ผู้เข้าชม
11178 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
makara995
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
ร้านค้า
makara.99wat.com
โทรศัพท์
0813116011
ไอดีไลน์
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
244-0-006xx-x
พระชินราชอินโดจีน สังฆาฏิยาวพิ
พระนางกำแพงขาโต๊ะ เนื้อชิน กร
พระลีลาหลังเข็ม กรุชุมนุมสงฆ์
พระสมเด็จปิลันท์ ซุ้มประตู ที
พระวัดพลับพิมพ์สมาธิเล็ก องค์
พระร่วงยืนหลังลายผ้า มีซ่อม ลพ
หลวงพ่อโต กรุวัดชีปะขาวหาย พิษ
พระนางกำแพงเม็ดมะเคล็ด กำแพงเพ
พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น เนื้อทุ่
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
นรินทร์ ทัพไทย
Erawan
โก้ สมุทรปราการ
หมอเสกโคราช
kaew กจ.
เปียโน
หริด์ เก้าแสน
นานา
อ้วนโนนสูง
ภูมิ IR
Beerchang พระเครื่อง
varavet
เจนพระเครือง
โกหมู
Le29Amulet
KoonThong_Amulets
เจริญสุข
termboon
ยิ้มสยาม573
someman
Paphon07
พีพีพระเครื่อง
chathanumaan
Achi
somphop
อี๋ ล็อคเกต
fuchoo18
บี บุรีรัมย์
Chobdoysata
chaithawat
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1048 คน
เพิ่มข้อมูล
สมเด็จพระพุทธบาทปิลันท์ พิมพ์เปลวเพลิงเล็ก ยกพระหัตถ์ขวา ติดรางวัลที่2
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
สมเด็จพระพุทธบาทปิลันท์ พิมพ์เปลวเพลิงเล็ก ยกพระหัตถ์ขวา ติดรางวัลที่2
รายละเอียด
พระพุทธบาทปิลันทน์ วัดระฆังโฆสิตาราม
"พระสมเด็จปิลันทน์นอกจากจะได้รับความนิยมสูงสุดแล้ว ยังได้รับความนิยมและยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ของชุดเบญจภาคีพระเนื้อผงอีกด้วย"
2“พระพุทธบาทปิลันทน์” ขนานนามตามชื่อผู้สร้างคือ หม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ (ทัด) ลูกศิษย์ใกล้ชิดในท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ผู้สร้างพระสมเด็จอันเป็นสุดยอดพระเครื่องแห่งเมืองไทย และนับได้ว่าเป็นพระภิกษุเพียงรูปเดียวที่ได้รับความไว้วางใจให้ปกครองดูแลวัดแทน และสืบต่อมาท่านได้จำเริญในสมณศักดิ์ จนครั้งสุดท้ายดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ "หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด)" เทียบเท่ากับพระอาจารย์
ครั้งเมื่อหม่อมเจ้าพระพุทธบาทปิลันทน์ (ทัด) ครองวัดระฆังฯ ในราวปี พ.ศ.2407 ท่านได้ดำริสร้างพระพิมพ์ให้ครบ 84,000 องค์ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ตามคติโบราณนิยม ส่วนหนึ่งเพื่อแจกผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสไว้เป็นเครื่องคุ้มครองป้องกันภยันตราย อีกส่วนหนึ่งเพื่อบรรจุไว้ในพระสถูปเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชาและสืบสานพระบวรพุทธศาสนา ด้วยการสร้างพระพิมพ์เนื้อผงใบลานเผาขึ้นเป็นจำนวนมาก แบบและพิมพ์มีความประณีตงดงามด้วยฝีมือช่างหลวงหรือช่างสิบหมู่ ทั้งยังได้รับความอนุเคราะห์จากพระอาจารย์ คือท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มอบมวลสารพระสมเด็จวัดระฆังฯ รวมทั้ง "ผงปถมัง" ให้เป็นส่วนผสมในพระพิมพ์ ซึ่งคือส่วนที่ปรากฏเป็นผงสีขาวในองค์พระ นอกจากนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังร่วมในการอธิษฐานจิตปลุกเสกด้วยพระคาถาชินบัญชร อันทรงคุณวิเศษอีกด้วย จึงเรียกขาน “พระพุทธบาทปิลันทน์” กันในอีกนามหนึ่งว่า “พระเครื่องสองสมเด็จ” สำหรับด้านพุทธคุณคงไม่ต้องพูดกันเลย แต่ที่ประจักษ์แก่สายตาส่วนใหญ่จะเป็นด้านเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี
การขุดพบพระพุทธบาทปิลันทน์ ที่วัดระฆังฯ นั้น พระเทพญาณเวที (ลมูล สุตาคโม ป.ธ.6) อดีตเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือ “พระสมเด็จ ๓ องค์” ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2515 ขอสำเนามาเสนอดังนี้..
“…หม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด) กับพระปิลันทน์ (พระผง) วัดระฆัง
พระปิลันทน์นั้น เป็นพระของเจ้าพระคุณหม่อมเจ้าพระสมเด็จพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) ผู้เป็นต้นคิดสร้างขึ้น เป็นพระผงใบลานเนื้อหยาบ ดำสนิทด้านๆ ไม่ดำเป็นมัน มีขี้กรุติดมากบ้างน้อยบ้าง เป็นพระไม่งาม สัณฐานเล็ก ความยาวประมาณ ๑ องคุลี ความกว้างประมาณครึ่งองคุลี ได้เคยเอาเศษหักมาตำผสมกับผงใหม่ มีกลิ่นฉุนๆ เหมือนพริกไท ส่วนประกอบที่องค์พระอันเป็นที่สังเกต เป็นพระนั่งมีปรกก็มี ไม่มีก็มี เป็นพระยืนมีซุ้มเรือนแก้วก็มี เป็นแบบพระประจำวันก็มี ดังนี้…”
พระพุทธบาทปิลันทน์ แตกกรุออกมาเนื่อจากมีผู้เข้าไปเจาะกรุพระเจดีย์เพื่อหวังทรัพย์สินของมีค่าเท่านั้น ไม่ประสงค์ในพระเครื่อง ท่านเจ้าคุณพระธรรมทานาจารย์ (แนบ สิงหเสนี) ซึ่งอยู่ที่หอไตรฯ ในสระ ท่านเป็นเจ้าคณะและควบคุมดูแลในพระอุโบสถในขณะนั้น เมื่อทราบเรื่องจึงให้นำพระเครื่องทั้งหมดมาเก็บไว้ในหอไตรฯ จนเมื่อเกิดสงครามอินโดจีนท่านจึงนำพระเครื่องส่วนหนึ่งมอบให้แก่กระทรวงกลาโหม เพื่อแจกจ่ายแก่ทหารที่จะออกไปปฏิบัติราชการในสนามรบอีกด้วย
ดังที่กล่าวแล้วว่า พระพุทธบาทปิลันทน์ มีมากมายหลายพิมพ์ทรง อาทิ พิมพ์ปกโพธิ์ใหญ่, พิมพ์ปกโพธิ์เล็ก, พิมพ์โมค คัลลาน์-สารีบุตร, พิมพ์ครอบแก้วใหญ่, พิมพ์ซุ้มประตู, พิมพ์เปลวเพลิง, พิมพ์หยดแป้ง และพิมพ์ปิดตา ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมสะสมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งสิ้น โดยเฉพาะ “พระพุทธบาทปิลันทน์ พิมพ์ซุ้มประตู” ได้รับความนิยมและยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ของชุดเบญจภาคีพระเนื้อผงอีกด้วย
พระพุทธบาทปิลันทน์ พิมพ์เปลวเพลิง
สร้างตามพระพุทธอิริยาบถปางหนึ่งขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ“ปางแสดงอิทธิปาฏิหาริย์” พุทธลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืน เปล่งรัศมีเป็นเปลวเพลิง ซึ่งตามพุทธประวัติกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า …ครั้นเมื่อพระบรมศาสดาเสด็จถึงนครกบิลพัสดุ์ตามพระประสงค์แห่งพระพุทธบิดาแล้วนั้น พระพุทธองค์เสด็จประทับเหนือพระพุทธอาสน์ และเหล่าสาวกขึ้นนั่งบนเสนาสนะ ณ โครธารามวิหาร ซึ่งบรรดาศากยวงศานุวงศ์ทั้งหลายได้จัดถวายรับรอง ด้วยความที่กษัตริย์ศากยวงศ์ราชทั้งหลายเป็นผู้ใหญ่และมีมานะทิฐิ ไม่แสดงความเคารพต่อพระบรมศาสดาเพราะเห็นว่ามีอายุน้อยกว่า พระองค์มีพรประสงค์ที่จะลดมานะทิฐิเหล่านั้น จึงแสดงพุทธานุภาพจนทำให้หายจากทิฐิมานะและพากันนอบน้อมถวายนมัสการต่อพระพุทธองค์
สำหรับพิมพ์นี้ ใช้คำว่า “พระสมเด็จ” นำหน้า เป็นการถวายพระนามเพื่อเป็นเกียรติแด่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
นอกเหนือจากพุทธคุณสูงส่งแล้ว แค่เพียงตัวอย่างพุทธลักษณะของแต่ละพิมพ์ที่นำเสนอมานี้ ก็ล้วนมีความงดงาม เข้มขลัง และเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติทั้งสิ้น
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
11297 ครั้ง
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
makara995
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
URL
http://www.makara.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0813116011
ID LINE
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี